วันอาทิตย์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

การทำงานของเทคโนโลยี 3G

สำหรับหลักการทำงานของ 3G อย่างง่ายๆคือ คอนเซ็ปต์ของการเชื่อมต่อกับระบบของผู้ให้บริการเครือข่ายตลอดเวลาโดยเป็นกาเชื่อมต่อการใช้ข้อมูลกับผู้ให้บริการเครือข่ายอัตโนมัติ ทำให้ไม่จำเป็นต้องล็อกอินเข้าใช้บริการ GPRS (General Packet Radio Service) และ EDGE (Enhanced Data Rate for GPRS Evolution) กับผู้ให้บริการเครือข่ายทุกครั้งที่มีการใช้บริการรับ-ส่งข้อมูล โดยจะคิดอัตราค่าบริการเมื่อมีการรับ-ส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายเกิดขึ้นเท่านั้น โดยค่าบริการคิดตามปริมาณการรับ-ส่งข้อมูลที่เกิดขึ้นจริง



หากเป็นการเชื่อมต่อ GPRS/EDGE แบบเดิม เราจะเสียค่าบริการในทันทีที่ Login เข้าใช้บริการ การพัฒนาการให้บริการสื่อสารข้อมูล (Data Communication Service) เริ่มจากการพัฒนาเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 2G ให้สามารถรองรับการรับ-ส่งข้อมูลแบบข้อความสั้นหรือ SMS (Short Messaging Service) ต่อมาจึงได้มีการพัฒนาให้เครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่สามารถรับ-ส่งข้อมูลแบบแพ็กเกจสวิตซ์ด้วย GPRS โดยเริ่มแรกความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 9.6 kbps จนปัจจุบันมีการพัฒนาความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลเพิ่มขึ้นเป็น 144-171.2 kbps แต่นั่นก็ยังไม่พอเพียงสำหรับการให้ Internet Boardband ไร้สายได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงมีความพยายามในการพัฒนาความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลให้เพิ่มขึ้นด้วยเทคโนโลยี EDGE ซึ่งสามารถรับ-ส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูงถึง 384 kbps จากการพัฒนาเทคโนโลยีการรับ-ส่งข้อมูลความเร็วสูงผ่าน GPRS และ EDGE นี่เองที่ทำให้เกิดความตื่นตัวในการใช้บริการสื่อสารข้อมูลเพิ่มมากขึ้น โดยเริ่มจากการดาวน์โหลด โลโก้,ริงโทน,ริงแบ็กโทน และเกมมือถือต่างๆจนกระทั่งเริ่มมีความต้องการใช้มือถือเช็กอีเมล รวมถึงการรับ-ส่งข้อมูลต่างๆ ผ่านการเชื่อมต่อ Internet Boardband ไร้สายบนมือถือเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้เครือข่ายโทรศัพท์ที่มีอยู่เดิมจำเป็นต้องปรับปรุงโครงสร้างและการทำงานของเครือข่ายเข้าสู่ยุคของ 3G ซึ่งมาพร้อมกับการพัฒนาเทคโนโลยี HSPA (High Speed Packet Access) ทำให้อัตราความเร็วของการรับ-ส่งข้อมูลเพิ่มสูงขึ้นจากกิโลบิตต่อวินาที (kbps) กลายเป็นเมกะบิตต่อวินาที (mbps)

ดังที่ได้กล่าวไปแล้วว่าปัจจุบันประเทศไทยยังให้บริการเทคโนโลยี 3G บนคลื่นความถี่เดิมอยู่ ทำให้บางครั้งผู้ใช้บริการรับ-ส่งข้อมูลผ่านระบบ GPRS และ EDGE รู้สึกว่าการรับ-ส่งข้อมูลดังกล่าวมีความล่าช้าขาดความเสถียรของการรับ-ส่ง พูดง่ายๆคื่อเชื่อมต่อ Internet ยากแต่หลุดง่าย เป็นต้น เนื่องจากการรับ-ส่งข้อมูลความเร็วสูงผ่านคลื่นความถี่เดิมจะต้องมีการแชร์คลื่นความถี่ระหว่างข้อมูล (Data) และการให้บริการเสียง (Voice) จึงก่อให้เกิดปัญหาดังกล่าว ซึ่งผู้ให้บริการต่างก็พยายามแก้ปัญหาด้วยการนำเทคโนโลยี HSPA เข้ามาประยุกต์ใช้ ซึ่งแน่นอนว่าเทคโนโลยีดังกล่าวย่อมมาพร้อมการลงทุนทางด้านโครงข่ายซึ่งคิดเป็นมูลค่าจำนวนมหาศาลเรียกได้ว่ายกเครื่องโครงข่ายใหม่เกือบทั้งหมด ทำให้ผู้บริการภายในประเทศจำเป็นต้องชั่งน้ำหนักระหว่างเม็ดเงินที่จะต้องสูญเสียจากการลงทุนโครงข่ายกับเม็ดเงินที่จะได้รับจากมูลค่าเพิ่มของการให้บริการสื่อสารข้อมูล (Value-Added Data Communication Services) ซึ่งจะมาพร้อมกับคอนเทนต์และแอพพลิเคชันใหม่ๆที่หลากหลายกว่าการให้บริการสื่อสารข้อมูลเพียงแค่การดาวน์โหลดเพลง รูปภาพ โลโก้หรือเช็กอีเมลเพียงแค่นั้น อย่างไรก็ตาม เมื่อมองทางด้านของความต้องการใช้งานซึ่งมีดีมานด์สูงขึ้นเรื่อยๆทำให้ผู้ประกอบการยินดีลงทุนกับการสร้างโครงข่ายใหม่ แต่ทั้งนี้ก็ยังติดปัญหาที่ต้องรอการอนุมัติใบอนุญาตให้บริการ 3G บนคลื่นความถี่ใหม่จากคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ซึ่งจำเป็นต้องออกให้ได้ภายในปีนี้ หากหวังที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศด้วยเม็ดเงินจากการลงทุนโครงข่ายและการใช้บริการมัลติมีเดียจากทางฝั่งผู้ใช้บริการมือถือ

0 ความคิดเห็น: